ปริมาณพลังงานของเชื้อเพลิง – ค่าความร้อนสุทธิ ของเชื้อเพลิงต่างๆ (ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน)

เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เครื่องผลิตเม็ดปุ๋ย
เครื่องทดลองขนาด 7.5 HP motor (our test machine)
maximum size that we manufacture is 50HP (capacity ~300-500 kg/hr, depending on type of fertilizer)
สนใจติดต่อเลยครับ
www.thaisumi.com
โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการนำวัสดุเหลือใช้เศษไม้และกากของเสียมาใช้ประโยชน์
เชื้อเพลิงจากเศษไม้
การแปรรูปเศษไม้ไม่ใช้แล้วให้เป็นพลังงานทดแทน เป็นวิธีหนึ่งในการนำเศษไม้ไม่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ โดยปกติการนำชีวมวลไปใช้ประโยชน์ด้านพลังงานทดแทนสามารถทำได้สองแนวทางคือ
1. โดยกระบวนการทางชีวภาพ
2. โดยกระบวนการด้านความร้อน พบว่า เศษไม้จากโรงงานแปรรูปไม้และผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้มีข้อจำกัดทางองค์ประกอบทางกายภาพและเคมี ประกอบด้วยโมเลกุลของ คาร์บอน ไฮโดรเจน และธาตุต่างๆ ไม่เหมาะสมสำหรับกระบวนการแปรรูปพลังงานด้วยการใช้กระบวนการทางชีวภาพ ดังนั้น การนำเศษไม้ไม่ใช้แล้วจากโรงงานแปรรูปไม้และผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ไปใช้ประโยชน์ในด้านการแปรรูปเป็นพลังงาน จะใช้กระบวนการแปรรูปทางความร้อนเป็นหลัก เช่น เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น
ที่มาและองค์ประกอบของเศษไม้
เศษไม้อาจจะมีที่มาได้หลากหลาย ในที่นี้จะเน้นที่เศษไม้เหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน และอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ชิ้นต่างๆ
ลักษณะที่สำคัญของเศษไม้ที่ควรคำนึงในการนำไปเผาในเตาแก๊สซิฟายเออร์ มีดังนี้
ความชื้น (% นํ้าหนักเปียก) : 12 (สูงสุดไม่เกิน 25)
เถ้า (% นํ้าหนักแห้ง) : 0.5 (สูงสุดไม่เกิน 6)
ขนาด (เซนติเมตร) : 2-10
หลักการเตรียมชีวมวลให้เหมาะสมสำหรับเตาแก๊สซิฟายเออร์
การลดขนาด: การบดหรือสับเพื่อให้ชีวมวลได้ขนาดตามต้องการ เช่น ไม้ฟืน
การอัดแท่งหรืออัดก้อนชีวมวล: ใช้สำหรับกรณีที่ชีวมวลมีความหนาแน่นตํ่า เช่น ขี้เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว ตะกอนสลัดจ์ เป็นต้น
การทำให้แห้งหรือการลดความชื้น: เพื่อให้ชีวมวลมีค่าความชื้นอยู่ในระดับเหมาะสมต่อการใช้งาน โดยทั่วไปค่าความชื้นที่เหมาะสมควรมีค่าความชื้นไม่เกินร้อยละ 20-30
การคัดแยกสิ่งเจือปน: การคัดแยกเศษหิน ดิน ทราย ที่ปะปนมากับวัสดุทางการเกษตร
Wood cut piece ไม้ตัด ทำแก๊ส ชีวมวล แก๊สซิไฟเออร์
**ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน
ผลิต Bowl feeder for Plastic sauce cup
ผลิตเครื่องป้อนถ้วยน้ำจิ้ม สำหรับถุงขนม และเครื่องป้อนอื่นๆตามต้องการ ราคาไม่แพงครับ
สนในติดต่อมาเลยครับ
www.thaisumi.com
การคำนวณการใช้พลังงานในหน่วย เมกะจูล/ปี หรือ MJ/ปี
Ep = Ec x 3.6
โดยที่
Ep หมายถึง ปริมาณพลังงานไฟฟ้าเทียบเท่า หน่วยเป็น เมกะจูล/ปี
Ec หมายถึง ปริมาณการใช้ไฟฟ้า หน่วยเป็น กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh)
Es = (hs – hw) x S x eff.
โดยที่
Es หมายถึง ปริมาณความร้อนจากไอน้ำเป็นพลังงานไฟฟ้าเทียบเท่า หน่วยเป็น เมกะจูล/ปี
hs หมายถึง ค่า Enthalpy ของไอน้ำที่ใช้ หน่วยเป็น เมกะจูล/ตัน จากตารางไอน้ำ (steam table) ทั่วไป
hw หมายถึง ค่า Enthalpy ของน้ำที่อุณหภูมิ ๒๗ องศาเซลเซียส และความดันหนึ่งบรรยากาศในที่นี้ให้ใช้ค่าเท่ากับ ๑๑๓ เมกะจูล/ตัน
S หมายถึง ปริมาณไอน้ำที่ใช้ หน่วยเป็นตัน/ปี ดูจากเครื่องวัดปริมาณไอน้ำของอาคารหรือโรงงาน
eff. หมายถึง ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้าเทียบเท่า ในที่นี้ใช้ค่า ๐.๔๕
Ef = F x HHV x eff.
โดยที่
Ef หมายถึง ปริมาณความร้อนจากพลังงานสิ้นเปลืองอื่นเป็นพลังงานไฟฟ้าเทียบเท่าหน่วยเป็น เมกะจูล/ปี
F หมายถึง ปริมาณการใช้พลังงานสิ้นเปลือง หน่วยเป็น หน่วยน้ำหนักหรือปริมาตรต่อปี
HHV หมายถึง ค่าความร้อนสูง (higher heating value) ของพลังงานสิ้นเปลืองที่ใช้หน่วยเป็น เมกะจูล/หน่วยน้ำหนัก หรือปริมาตร
eff. หมายถึง ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้าเทียบเท่าในที่นี้ใช้ค่า ๐.๔๕
ในกรณีที่ไม่มีค่าความร้อนสูงจากผู้จำหน่าย ให้ใช้ความร้อนเฉลี่ยที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกำหนด
**ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน