
“โรงไฟฟ้าขยะ 10 เมกะวัตต์” บอร์ดสวล.ไฟเขียวไม่ต้องทำอีไอเอ

ธุรกิจพลังงานทดแทน ชีวมวล พลังงานธรรมชาติ เชื้อเพลิงและเครื่องจักร ระบบการผลิต
พลังงานทดแทนในไทยอาจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1) พลังงานธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ (solar cell) และพลังงานลม (wind energy)
2) พลังงานชีวภาพ เช่น ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ พลังงานจากขยะ เป็นต้น
3) เชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น เอทานอล และไบโอดีเซล
ถ้าหากถามว่าพลังงานทดแทนของไทยมีอะไรที่น่าลงทุนมากที่สุดสำหรับชาวต่างชาติก็ยังคงเป็นเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ ซึ่งสำหรับคนไทยสามารถลงทุนใน Solar Rooftop หรือติดตั้งบนหลังคา แต่ถ้าหาจะทำเป็นธุรกิจก็ควรมองไปที่ชีวมวลและพลังงานขยะ โดยถ้ามีทุนน้อยและต้องการทำกำไรระยะสั้นก็แนะนำให้ลองศึกษา เชื้อเพลิงอัดแท่งหรืออัดเม็ด (wood briquette, wood pellet) ซึ่งมีตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ศักยภาพด้านชีวมวลของไทยนั้นมีสูงมากโดยไทยมีชีวมวลที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์กว่า 20 ล้านตันต่อปี แต่การรวบรวมชีวมวลนั้นมีต้นทุนที่สูงมากซึ่งเป็นปัญหาในด้านต้นทุน ทั้งนี้ wood pellet ในประเทศไทยหากได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐก็จะสามารถส่งออกได้ปีละไม่น้อยกว่า 5 ล้านตัน โดยราคาส่งออกขณะนี้ปรับขึ้นๆลงๆอยู่ที่ประมาณตันละ 150 เหรียญ US Dollar นอกจากนี้ wood pellets เกือบเป็นธุรกิจเดียวที่ไม่ต้องพึ่งพาการอุดหนุนด้านราคาจากภาครัฐแต่ก็ต้องทันเกมส์กับตลาดโลก
เครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง –> thaisumi company machines
*ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
ถ่านอัดแท่ง – charcoal briquette ซื้อ ขาย ส่งออก การผลิต
ความต้องการของตลาดต่างประเทศนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เราต้องศึกษาว่าแต่ละประเทศนั้นต้องการถ่านอัดแท่งที่มีคุณสมบัติอย่างไร รวมถึงปริมาณความต้องการ ก่อนที่จะประเมินว่าพอมีช่องทางที่เราจะเข้าไปเจาะตลาดได้หรือเปล่า
ความต้องการสินค้าถ่านของแต่ละประเทศนั้นจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานและวัฒนธรรมของลูกค้าในแต่ละประเทศ ความต้องการถ่านที่มีคุณสมบัติต่างๆกันซึ่งมีตั้งแต่กระบวนการผลิตถ่าน การเผาถ่าน จนไปถึงการบรรจุถ่าน แต่ละทวีป แต่ละประเทศ ล้วนมีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง การที่เราจะเจาะตลาดกลุ่มไหน เราต้องรู้และเข้าใจ ความต้องการของลูกค้าก่อน เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาวางเป็นกลยุทธ์ที่จะส่งสินค้าของเราเข้าเจาะกลุ่มตลาดเหล่านั้นให้ได้ เรามาดูกันว่าเราจะเจาะกลุ่มตลาดเหล่านี้อย่างไรได้บ้าง….
ส่วนวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งได้ก็มีมากมายหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเศษขี้เลื่อย ขี้กบ หัวไม้ที่เหลือจากการเลื่อยไม้ การแปรรูปไม้ จากการ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง ก็ใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับการผลิตถ่านอัดแท่งได้ทั้งหมดครับ
เศษกะลามะพร้าวที่เหลือจากการคัดเอาเนื้อมะพร้าวออกไปแล้ว กิ่งไม้ ปลายไม้ที่เหลือทิ้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศษไม้ที่ตัดทิ้งออกจากสวน หรือปลายไม้ยูคาที่ลำต้นถูกตัดไปผลิตเป็นกระดาษ เศษที่เหลือทิ้งนั้นสามารถที่จะนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งได้เช่นกัน
แม้แต่ทลายปาล์มที่เหลือจากการหีบน้ำมันออกไปแล้ว กะลาปาล์มที่เหลือทิ้งเหล่านั้น ถ้าหากว่านำมาผ่านกระบวนการเผาให้ดีมีคุณภาพแล้ว ก็สามารถที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นถ่านอัดแท่งได้เช่นกัน
สำหรับข้อมูลช่องทางการทำการตลาดถ่าน คลิ๊กที่นี่ !!
———-คำถาม———-
ตอนทดลองใช้ก็พบว่าติดไฟยาก เลยอยากถามว่า
1. เพื่อนๆใช้สูตรไหนกันบ้างครับ
2. น้ำที่ใช้ผสมประมาณเท่าไหร่ มีวิธีดูอย่างไรว่าเหมาะสมแล้ว
3. ความหนาแน่นของถ่านควรจะประมาณเท่าไหร่ มีวิธีควบคุมอย่างไร
4. ความยาวถ่านแท่งที่เหมาะสม
ขอรบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
———-ตอบ———-
ส่วนตัวแล้วก็ตามนี้เลยครับ
1. เพื่อนๆใช้สูตรไหนกันบ้างครับ
– ถ่านไม้ ถ่านซังข้าวโพด ถ่านกะลามะพร้าว สัดส่วนแล้วแต่ลูกค้าครับ
ถ่านดีจะติดไฟยาก แต่ติดแล้วอยู่ทน ขี้เถ้าน้อย
ถ่านหินติดไฟยาก ติดแล้วดับเองก็มี เอามาผสมเพื่อลดต้นทุนได้แต่ไม่ดีเลย
2. น้ำที่ใช้ผสมประมาณเท่าไหร่ มีวิธีดูอย่างไรว่าเหมาะสมแล้ว
– น้ำแล้วแต่ความแห้งของถ่านที่มานะครับ ปกติถ้าถ่านแห้งมากอาจจะต้องเติมน้ำถึงเกือบ 40-50%
ถ้าเครื่องอัดมีแรงม้ามากพอและออกแบบมาดีก็จะช่วยลดน้ำที่ใส่ได้ (ไม่ต้องผสมเหลว) จะมีข้อดีตรงไม่ต้องตากแดดหรืออบแห้งนาน แป้งมันก็ใช้น้อยลงด้วย ประหยัดไปได้
3. ความหนาแน่นของถ่านควรจะประมาณเท่าไหร่ มีวิธีควบคุมอย่างไร
– ถ้าใช้เครื่องอัดก็ต้องปรับเครื่องอ่ะครับ นอกนั้นก็แป้งมันว่าถ้าเป็นล็อตใหม่ก็ต้องลองอีกทีว่าเหมือนแป้งล็อตเดิมหรือเปล่า แป้งมีส่วนมากพอควรเพราะปกติผมเติมประมาณ 5% แต่ถ้าแป้งไม่ดีอาจจะต้องเติมมากกว่านั้น
ทดลองได้โดยการเผาไฟให้แดงแล้วเวลาคีบถ่านต้องไม่แตกครับ เพราะลูกค้าหมูกระทะเขาต้องคีบถ่านลงเตายกเอาไปเสริฟ ถ้าอัดถ่านดีจริงๆเวลาลูกค้ากินเสร็จแล้วยังคีบกลับมาใส่เตาสำหรับเตรียมถ่านยังได้อยู่เลย
4. ความยาวถ่านแท่งที่เหมาะสม
– แล้วแต่ครับ แต่ผมทำ 8-10 cm. สั้นๆอบแห้งง่าย ลูกค้าหยิบใช้สะดวก แต่เวลาเรียงถ่านในกระสอบจะเหนื่อย ..55
หวังว่าจะพอมีประโยชน์นะครับ